วิธีแก้นอนกรนได้โดยการผ่าตัด

วิธีแก้นอนกรนรักษาโดยการผ่าตัดการผ่าตัดต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์ เป็นวิธีแก้นอนกรนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยทั่วไปแล้วการผ่าตัดนี้จะช่วยให้อาการของภาวะ OSA ดีขึ้น และลดจํานวนครั้งของการหยุดหายใจ / หายใจแผ่วจากการอุดกั้น อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติราวร้อยละ 85-90

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงบางกลุ่มเช่น เด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดรุนแรง เด็กอ้วน โครงสร้างใบหน้าผิดปกติ หรือมีโรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เด็กทีเป็น Down syndrome ผนังกั้นจมูกคด และเยื่อบุจมูกบวมมาก อาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับเหลืออยู่หลังผ่าตัด ดังนั้นการติดตามอาการของผู้ป่วยจึงมีความจําเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ผู้ป่วยเหล่านี้ สำหรับการผ่าตัดต่อมทอนซิลและอะดินอยด์นั้น ทำภายใต้การดมยาสลบ และโดยทั่วไปมีความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงน้อยมาก อย่างไรก็ตาม 1-2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด ต้องเฝ้าระวังปัญหาเลือดออกจากตําแหน่งผ่าตัด อาการคลื่นไส้อาเจียน ภาวะขาดน้ำซึ่งอาจเกิดจากเจ็บแผลและรับประทานอาหารได้น้อยในบางราย และบางครั้งอาจหายใจลำบากและยังมีเสียงกรนใน 2-3 วันแรก ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมอย่างน้อย 1-2 วัน ซึ่งแพทย์จะให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวต่อไป และหลังออกจากโรงพยาบาลแล้ว ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์เพื่อรับการประเมินอาการตามที่นัด ซึ่งอาจมีการตรวจทดสอบการนอนหลับตามความเหมาะสมของแต่ละรายต่อไป สำหรับภาวะแทรกซ้อนระยะยาวเช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยขึ้นหลังผ่าตัดไปแล้ว พบได้น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเด็กได้รับวัคซีนครบตามกำหนด

นอกจากวิธีแก้นอนกรนโดยการผ่าตัดต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์แล้ว ยังมีการรักษาโดยการผ่าตัดอื่นๆ เช่น การจี้เยื่อบุในจมูกด้วยความถี่วิทยุ การผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้าในรายที่ผิดปกติ หรือการเจาะคอ รวมถึงการผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักในเด็กที่อ้วนมาก เป็นต้น ซึ่งต้องพิจารณาความเหมาะสมในผู้ป่วยเป็นการเฉพาะรายๆไป